วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

                          Science Experiences Management for Early Childhood

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ  
                   
     เวลาเข้าสอน 13.00    เวลาเข้าเรียน 12.50  เวลาออกจากห้องเรียน 16.00 น.

        วันนี้อาจารย์เริ่มต้นชั่วโมง ด้วยการให้เพื่อนออกมาอ่านบทความ ดังนี้ค่ะ
บทความเรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย (มิส วัลลภา ขุมหิรัญ)

บทความเรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
โดย มิสวัลลภา ขุมหิรัญ
หลักการและความสำคัญ

วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้
1.สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก
2.สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม
3.ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ
4.ส่งเสริมกระบวนการคิด
5.ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
6.ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
7.เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ
การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการตั้งคำถาม การทดลอง การสังเกตและการหาข้อสรุปซึ่งเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการแก้ปัญหา ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ระดับปฐมวัย ควรให้เด็กได้ตระหนักถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ต่อไปนี้
1.เราต้องการค้นหาอะไร
2.เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อการค้นหานี้
3.เราเห็นอะไรเกิดขึ้นบ้าง
4.สิ่งต่างๆเหล่านี้บอกอะไรแก่เราบ้าง

ผลที่ได้รับจากการศึกษาเอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยคือได้ทราบ
หลักการและความสำคัญ เป้าหมาย บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย และแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งจะได้นำแนวทางนี้ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต่อไป

*เอกสารอ้างอิง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2546


กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล
Preschool  Workshop
s
     นอกจากกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กในระดับประถมศึกษา
แล้ว Mad Science ยังจัดกิจกรรมซึ่งมีความหลากหลายสำหรับเด็ก
ในระดับอนุบาล ( อายุ 3 – 5 ปี ) ทุกๆกิจกรรม จะแฝงด้วยความ
สนุกสนานและสาระโดยจัดเป็นกิจกรรมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียน
ในเวลาเรียนปกติครั้งละประมาณ 30 นาที เพื่อเสริมทักษะ
ด้านการสังเกตและทักษะอื่นๆทางด้านวิทยาศาสตร์ให้เด็ก
ได้ร่วมคิดและปฏิบัติ  ทั้งนี้ Mad Science จะเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์
์และผู้สอนทั้งหมด
ตัวอย่างกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล
ADVENTURES IN AIR เรียนรู้เกี่ยวกับอากาศ
ที่อยู่รอบๆตัวเรา อากาศสามารถทำให้สิ่งของเคลื่อนที่ อากาศต้องการที่อยู่และอากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น
ANIMAL FRIENDS  สนุกกับการทายเสียง
สัตว์ชนิดต่างๆ รูปลักษณะของสัตว์ที่เปลี่ยนไป เมื่อมันเจริญเติบโต เรียนรู้สิ่งที่ห่อหุ้มร่างกาย
ของสัตว์แต่ละชนิด
COLOR LAB เรียนรู้เกี่ยวกับสีต่างๆของรุ้ง การผสมของแม่สี เด็กๆจะสนุกกับการผสมสี
ด้วยตนเองโดยใช้ Gel ชนิดพิเศษเพื่อนำกลับบ้าน
EYE TO EYE เรียนรู้ความสำคัญของดวงตา และสนุกกับส่วนประกอบต่างๆของตาจาก
แบบจำลอง ดวงตาเรียนรู้ว่าเราสามารถเห็นภาพที่มี ขนาดใหญ่ขึ้นได้โดยการ
มองผ่าน “ แว่นขยาย ”
KEEP IN TOUCH  เรียนรู้เกี่ยวกับประสาทสัมผัส ให้เด็กๆทราบว่าของบางอย่างเป็น
อันตรายได้ถ้าเราสัมผัส และบางส่วนของร่างกายมีประสาทที่ไวต่อการสัมผัสมากกว่าส่วนอื่น
LISTEN CLOSELY  ให้เด็กๆทราบว่าเสียงเกิดจากการสั่นสะเทือน และเดินทางผ่านอากาศ
ในรูปของคลื่น สนุกกับการทำเสียงด้วยอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในภาพยนต์
LIGHTS ON เรียนรู้ว่าแสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ แสงสามารถเปลี่ยนสีได้เมื่อส่องผ่าน
กระดาษสีต่างๆ ตื่นตากับการดูสีรุ้งของแสงด้วยแว่นตาสายรุ้ง
SPACE FRONTIERS สนุกกับการสร้างแบบจำลองของดาวเคราะห์ทั้งเก้าดวงในระบบ
สุริยะจักรวาล เล่นสนุกกับการเก็บหินจำลองบนดวงจันทร์ด้วยมือจับ
WATER WORKS เรียนรู้เรื่องการลอย การจมของวัตถุต่างๆ ศึกษาว่าวัตถุใดดูดซึมน้ำ
ได้ดีกว่ากัน สนุกกับการทดลองแรงตึงผิวของน้ำด้วยน้ำสบู่ น้ำตาลและพริกไทย

สอนลูกเรื่อง พืช
พืช อยู่ในสาระที่ควรรู้เกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 การจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กเรียนรู้เรื่องพืช นอกจากเด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับชนิดของพืชต่างๆแล้ว ยังสามารถจัดกิจกรรมโดยใช้พืชเป็นสื่อเพื่อส่ง เสริมพัฒนาการให้กับเด็กปฐมวัยได้พัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางด้านต่างๆ ผ่านการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมในระดับปฐมวัย
เกร็ดความรู้เพื่อครู

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เด็กรู้จักพืช ครูควรจัดกิจกรรมที่เน้นการลงมือปฏิบัติ การมีส่วนร่วมของเด็ก โดยจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้อย่างหลากหลาย ผ่านกิจกรรมหลักประจำวัน โดยให้เด็กมีส่วนร่วมในการเตรียมวัสดุอุปกรณ์มาจากบ้าน เช่น การพิมพ์ภาพจากใบไม้ ให้เด็กได้เลือกชนิดของใบไม้ที่ตนเองอยากนำมาใช้พิมพ์ภาพ กิจกรรมการประกอบอาหารก็เช่นเดียวกัน เด็กควรมีส่วนร่วมในการเตรียมผักมาจากบ้าน เพื่อช่วยสร้างความภาคภูมิใจให้กับเด็ก
เทคนิคการสอนของอาจารย์
อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนแบบระดมความคิด ให้นักศึกษาได้คิดและค้นคว้า และร่วมแสดงความคิดต่างๆ ทำให้ฝึกคิดอย่างเป็นระบบ และมีการวางแผนก่อนการสอนทุกครั้ง


การประเมินตนเอง
แต่งกายเรียบร้อยดี ร่วมกันตอบคำถามกับเพื่อนและอาจารย์ และตั้งใจฟังเพื่อนอ่านบทความเพื่อป็นความรู้เพิ่มเติมในการพัฒนาตนเอง

การประเมินเพื่อนเพื่อนส่วนใหญ่แต่งกายเรียบร้อยดี สนใจเพื่อนเวลาเพื่อนนำเสนอบทความ  แต่เพื่อนบางคนก็มีคุยบาง
แต่ก็สามารถตอบคำถามอาจารย์ได้

การประเมินอาจารย์

วันนี้อาจารย์มีสื่อการสอนที่หลากหลายเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจง่ายขึ้น และมีการยกตัวอย่างได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

การนำไปประยุกต์ใช้
เมื่อเราทราบข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับเทคนุชิคการสอนวิทยาศาสตร์ โดยนำเทคนิคที่อาจารย์มอบให้ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น