วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนคร้งที่ 5

Science Experiences Management for Early Childhood

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ  
                  
     เวลาเข้าสอน 13.00    เวลาเข้าเรียน 12.50  เวลาออกจากห้องเรียน 16.00 น.


วันนี้เริ่มต้นชั่งโมงด้วยการทำกิจกรรมภาพ คือ สเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา เวลาเราหมุนเร็วๆ จะทำให้ภาพเชื่อมโยงทำให้เหมือนเป็นภาพเดียวกัน ซึ่งวันนี้ดิฉันนำขั้นตอนการทำมาฝาก ดังนี้ค่ะ

 Activity: พับกระดาษ
1.วาดรูปทั้ง 2 ให้สัมพันธ์กัน
2.นำไม้เสียบลูกชิ้นมาทำเป็นที่ถือ
3.เสร็จแล้วค่ะภาพผลงานของดิฉัน
จากนั้นเป็นการนำเสนอบทความของเพื่อนๆต่อจากสัปดาหืที่แล้ว ซึ่งมีเรื่องที่น่าสนใจหลายเรื่องดังนี้

การสอนเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติมีความสำคัญอย่างไร?


         การปลูกฝังหรือเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ให้กับเด็กในช่วงปฐมวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ที่จะทำให้เด็กได้ตระหนักถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในทางลบที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์เป็นเบื้องต้น การที่เด็กได้เรียนรู้สาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ย่อมทำให้เด็กมีลักษณะนิสัยที่รู้จักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และสามารถดำรงชีวิตแบบพึ่งพาซึ่งกันและกันได้ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลในอนาคต ซึ่งเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวเป็นสาระที่เด็กควรเรียนรู้เกี่ยว กับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน เป็นต้น สาระที่ควรเพื่อเตรียมความพร้อมทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย เป็นการส่งเสริมให้เด็กสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เป็นความคิดรวบยอดทางกายภาพ เด็กจะได้ใช้ทักษะการสังเกต การตั้งคำถาม และการหาคำตอบ ช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในลำดับขั้นสูงต่อไป ดังที่ Robert Craig ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไว้ 5 ประการ ที่เรียกว่า “5 Craig’s Basic Concepts” ว่าทุกสิ่งในโลกนี้จะมีลักษณะสำคัญร่วม 5 ประการ คือ
  • ความเปลี่ยนแปลง (Change) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงควรให้เด็กเรียนถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ
  • ความหลากหลาย (Variety) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน จึงควรให้เด็กเรียนรู้ความเหมือนและความแตกต่างของสิ่งต่างๆ
  • การปรับตัว (Adjustment) ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึงควรสอนให้เด็กได้สังเกตลักษณะของสิ่งนี้ เช่น จิ้งจกจะเปลี่ยนสีตามผนังที่เกาะ เป็นต้น
  • การพึ่งพาอาศัยกัน (Mutuality) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น นกเอี้ยงกับควาย ดังนั้น ครูจึงต้องให้เด็กเห็นธรรมชาติของสิ่งนี้
ความสมดุล (Equilibrium) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องต่อสู้เพื่อรักษาชีวิต และปรับตัวเพื่อให้ได้สมดุล และมีการผสานกลมกลืนกันเช่น ปลาอยู่ในน้ำ นกบินได้ ปลาใหญ่ย่อมกินปลาเล็ก สัตว์แข็งแรงย่อมกินสัตว์ที่อ่อนแอ สัตว์ที่อ่อนแอต้องมีอาวุธพิเศษบางอย่างไว้ป้องกันตัว เป็นต้น เด็กควรมีความเข้าใจธรรมชาติของสิ่งนี้ เพื่อให้ตนเองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติสามารถรักษาสมดุลไว้ได้


การสอนเรื่องสัตว์มีความสำคัญอย่างไร?


                 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้หน่วยสัตว์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กได้รู้จักสัตว์ประเภทต่างๆ เช่น สัตว์เลี้ยงไว้ดูเล่น สัตว์เลี้ยงไว้ใช้งาน สัตว์บก สัตว์น้ำ ลักษณะของสัตว์ ประโยชน์ของสัตว์ การเลี้ยงดูและให้อาหารสัตว์ การอนุรักษ์สัตว์ ที่อยู่อาศัย และการดำรงชีวิตของสัตว์ นอกเหนือจากเด็กจะได้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสัตว์แล้ว การเรียนรู้หน่วยสัตว์ มีจุด มุ่งหมายสำคัญเพื่อบูรณาการการเรียนรู้ให้เด็กได้พัฒนาทางด้านอารมณ์ จิตใจในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การมีคุณ ธรรม จริยธรรม การมีความเมตตา กรุณาต่อสัตว์ ทั้งที่เป็นสัตว์เลี้ยงและสัตว์อื่นๆ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมเด็กให้มีพัฒนาการด้านอื่นๆได้ทั้งพัฒนาการทางด้านร่างกาย จากการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมกลางแจ้ง พัฒนาการทางด้านสังคมจากการเล่นและทำงานเป็นกลุ่มในกิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมการเล่นตามมุม กิจกรรมการเล่นเกมต่างๆ การพัฒนาทางด้านสติปัญญาจากกิจกรรมเสริมประสบการณ์ที่เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะทาง ด้านคณิตศาสตร์ จากการสังเกตลักษณะของสัตว์ การนับจำนวนสัตว์ การจำแนกเปรียบเทียบประเภทสัตว์ จึงเห็นได้ว่า การเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ทำให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาไปพร้อมๆกัน

เทคนิคการสอนของอาจารย์

ให้นักศึกษามีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นต่างๆ เวลาอาจารย์มีกิจกรรมก็จะพยายามตั้งคำถามให้นักศึกษาได้ฝึกคิด

 การประเมินAssessment

  การประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และจดบันทึกตามที่อาจารย์แนะนำ ร่วมตอบคำถามกับเพื่อนบ้างค่ะ

การประเมินเพื่อน

เพื่อนๆส่วนใหญ่ตั้งใจเรียนดีมากค่ะ ไม่ค่อยคุยกันเท่าไหร่ และร่วมตอบคำถามกับเพื่อนๆในห้องเรียน
การประเมินอาจารย์

อาจารย์ตั้งใจสสอนและทุ่มเทให้กับนักศึกษามากๆ เข้าสอนตรงเวลา และเลิกตรงเวลา ใช้เวลาได้คุ้มค่ามากๆค่ะ

การนำไปประยุกต์ใช้

นำความรู้ที่ได้และเทคนิคการสอนของอาจารย์ไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัยไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่ยากเกินไปามารถปรับให้เหมาะสมกับวัยของเด็กได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น