Science Experiences Management for Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
สรุปวิจัย
เรื่องทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ กับแบบสืบเสาะหาความรู้
Basic Science Process Skills of Early Childhood Received from Using Project
Approach and Inquiry Methods
วิลา มณีอินทร์ วิไล ทองแผ่ กิรณา เกี๋ยสกุล
ปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ 2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้น
พื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ และ 3) ทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการกับแบบ
สืบเสาะหาความรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ เด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2556 จํานวน 50 คน จาก 15 โรงเรียนของกลุ่มโรงเรียนเก้าสุพรรณิการ์สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1 ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน (two stage sampling)
คือ ขั้นที่ 1 สุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลากใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่มจาก 15 โรงเรียน ให้เหลือ 2 โรงเรียน ได้แก่
โรงเรียนวัดวังน้ําเย็น จํานวนเด็กปฐมวัย 28 คน และโรงเรียนวัดคูบัว จํานวนเด็กปฐมวัย 22 คน ขั้นที่ 2
สุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลาก เพื่อเลือกวิธีการจัดประสบการณ์ ได้แก่ โรงเรียนวัดวังน้ําเย็น เป็นกลุ่มที่1
ใช้วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ และโรงเรียนวัดคูบัว เป็นกลุ่มที่ 2 ใช้วิธีการจัดประสบการณ์การ
เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ
2) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้และ 3) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.813 วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการ
ทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า
1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ
โครงการ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
แบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้ไม่แตกต่างกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น