วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6


Science Experiences Management for Early Childhood

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ  
                   
     เวลาเข้าสอน 13.00    เวลาเข้าเรียน 12.47  เวลาออกจากห้องเรียน 16.00 น.

วันนี้เริ่มต้นชั่วโมงด้วยการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ซึ่งแต่ละแถวจะตัดกระดาษคนละรูปแบบ จากนั้นอาจารย์ก็ให้ทดลองการตกลงสู่พื้นของกระดาษที่เราประดิษฐ์

Step
Equipment
อ้างอิงภาพจาก วรรณา

1. พับกระดาษครึ่งที่ตัด

2.ตัดกระดาษจนถึงครึ่งหนึ่งของกระดาษ
3. จากนั้นใช้คลิปหนีบ


4.เสร็จแล้วผลงานของดิฉัน



จากนั้นเป็นกิจกรรมนำเสนอบทความของเพื่อนๆ


 ดอกอัญชันทดสอบ กรด-ด่าง



สารเคมีต่างๆที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ของกินของใช้ประจำบ้านเรา เช่น ผงซักฟอก สบู่ก้อน น้ำยาล้างจาน น้ำส้มสายชู บางอย่างก็มี
ความเป็นกรด(รสเปรี้ยว) บางอย่างเป็นด่าง(รสฝาด) เราสามารถทดสอบกรด-ด่างได้อย่างปลอดภัยไม่ต้องชิมรส ..ก็ของบางอย่าง
กินไม่ได้นี่นา เริ่มการทดลองกันเลย
สิ่งที่ต้องใช้         
1.      ดอกอัญชัน(สีน้ำเงิน)  15 ดอก
2.      นำร้อน
3.      ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทดสอบ เช่น สบู่ก้อนต้ดเป็นชิ้นเล็กๆ น้ำมะนาว ผงซักฟอก น้ำส้มสายชู น้ำยา ล้างจาน
วิธีทดลอง 
  • นำดอกอัญชันมาแช่ในน้ำร้อนสักครู่ จะสังเกตว่ามีสีน้ำเงินละลายออกมาจากกลีบดอกทิ้งไว้จนกลีบดอกซีดจึงตักขึ้น
  • นำน้ำสีน้ำเงินที่ได้แบ่งใส่แก้วใสตามจำนวนผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทดสอบ และอย่าลืมเหลือสีเดิมไว้เปรียบเทียบด้วยนะ
  • ติดป้ายชื่อผลิตภัณฑ์ บนแก้วแต่ละใบเพื่อจะได้ไม่สับสนตอนบันทึกผลการทดลอง
เติมสารเคมีที่ต้องการทดสอบ 1 ช้อนชา ลงไปในแก้วแต่ละใบ แล้วคนให้เข้ากัน
เพราะอะไรกันนะ
            น้ำสีน้ำเงินของดอกอัญชัน สามารถเป็นอินดิเคเตอร์ วัดความเป็นกรด-ด่างได้ โดยสารที่เป็นกรดจะทำให้น้ำเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดง
สารที่เป็นด่างจะทำให้น้ำเปลี่ยนเป็นสีเขียว

วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ


  



เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะแน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก

    กิจกรรมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนเด็กปฐมวัยมีความสำคัญหลายประการดังนี้

  1. ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองและมีความกระตือรือร้น (คือเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้)
  2. ส่งเสริมการทำงานรายบุคคลและการคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาของเด็ก
  3. ยอมรับรูปแบบการเรียนรู้จากวัสดุอุปกรณ์ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่เป็นธรรมชาติ การรับรู้และความพยายามของเด็กหลายคนจากการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีความสำคัญต่อการรับรู้ชีวิต เรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์การทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์
  4. เพื่อเป็นการช่วยอธิบายความเข้าใจด้วยตัวเองของเด็ก
  5. ดูแลเอาใจใส่ต่อพฤติกรรมของเด็กที่ปรากฎ เช่น การแสดงความกังวลใจ เด็กที่เกิดความเบื่อ
  6. กิจกรรมการค้นพบช่วยให้ผู้เรียนสนใจใฝ่รู้ อยากสืบค้นต่อไป
  7. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทางสติปัญญาของเด็กจากการเรียนรู้ที่เด็กได้สัมผัสกับวัสดุอุปกรณ์ ทำให้เด็กมีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมที่มีความยากขึ้น เด็กได้เรียนรู้ภาษาและเนื้อหาสาระแบบบูรณาการ เช่น วิธีการได้รับประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติต่อการอ่าน วิธีการสอนแบบโครงการต่อการพัฒนาหลักสูตร การใช้ประสาทสัมผัส และการใช้กล้ามเนื้ออย่างเหมาะสมกับวัย
 ครูสอนเรื่องอากาศให้ลูกที่โรงเรียนอย่างไร?


ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องอากาศจากสาระที่ควรรู้ ได้แก่ อากาศคืออะไร อยู่ที่ไหน เกิดได้อย่างไร เราใช้ประโยชน์จากอา กาศอย่างไรบ้าง ปัญหาอากาศเสีย วิธีการรักษาอากาศดีๆ มีเครื่องมือ เครื่องใช้ ของเล่นอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับอากาศ ฯลฯ โดยครูจัดในกิจกรรมหลักทั้งหกตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 จัดลักษณะบูรณาการ เพื่อให้เด็กได้หลาก หลายความรู้และทักษะได้ดังตัวอย่างนี้
  • กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ให้เด็กแสดงท่าทางตามคำบรรยาย ความว่า .. วันนี้เด็กๆจะได้เรียนรู้เรื่องเทอร์โมมิ เตอร์ เป็นเครื่องมือวัดอุณหภูมิของอากาศ ให้เด็กทำท่าทางสมมติว่า ตนเป็นของเหลวชนิดพิเศษที่ขยายตัวโตขึ้นเวลาอากาศร้อน และหดตัวลงเมื่ออากาศเย็น กำลังไหลเข้าไปในหลอดแก้วนั้น ลงไปอยู่ในกระเปาะกลมๆ เล็กๆ ที่อยู่ปลายหลอดแก้วนั้น และยืนตัวตรงอยู่ในหลอดแก้วนั้น ลงไปอีก)
  • กิจกรรมเสริมประสบการณ์ การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ จะเป็นการส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว อย่างมีจุดมุ่งหมาย ที่จะฝึกให้เด็กได้คิดอย่างมีเหตุผล ได้เข้าสังคม ได้ใช้ภาษา ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ที่เน้นให้เด็กปฐม วัยเรียนรู้จากการกระทำด้วยตนเอง ในที่นี้เสนอการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะแก่การบูรณาการ ในกิจกรรมเสริมประ สบการณ์ 
  • กิจกรรมสร้างสรรค์ กลุ่มงานประดิษฐ์ ให้เด็กๆช่วยกันทำพวงแขวนจากกระดาษหนังสือพิมพ์ ทำเป็นรูปก้อนเมฆ ประกบกันเป็นคู่ ทากาว ภายในอัดเศษกระดาษ กลางก้อนเมฆ เพื่อทำให้ก้อนเมฆนูน ป่องสวยงาม แขวนกับไม้แขวนเสื้อ แล้วนำไปแขวนที่ระเบียง หรือหน้าต่าง ให้เด็กเฝ้าสังเกตก้อนเมฆที่แกว่งไปมาเพราะลมพัดผ่าน
  • กิจกรรมกลางแจ้ง เล่นเกม ลมพัด กำหนดเป็นคำสั่ง หากครูพูดว่า ลมพัดไปทางนั้น ให้เด็กๆวิ่งรอบๆต้นไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งที่อยู่ใกล้ๆลานที่เล่น แต่ถ้าครูพูดว่า ลมพัดมาทางนี้ ให้เด็กๆวิ่งมาเข้าวงกลมที่ครูขีดเส้นไว้ หากใครวิ่งผิดกติกา ให้มาอยู่ข้างครูก่อน การเล่นกลางแจ้ง ครูดัดแปลงกฎกติกาได้ แต่ควรมีเรื่องธรรมชาติของอากาศเป็นเนื้อหา ที่เด็กเรียนรู้ไปพร้อมกับการเล่นไปด้วย
  • กิจกรรมเสรี ครูจัดมุมการเรียนรู้ เพิ่มพูนความรู้ และสนับสนุนการเล่น เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองให้แก่เด็กเรื่องอากาศ ได้หลายมุม เช่น
    • มุมดนตรี เปิดเทปเพลงลม
    • มุมหนังสือ จัดหาหนังสือเรื่องเกี่ยวกับอากาศ มาให้เด็กๆได้อ่าน
กิจกรรมการเรียนรู้จากกิจกรรมหลักทั้งหกเกี่ยวกับเรื่องอากาศ เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก และอยู่ในชีวิตประจำวัน ที่เด็กปฐม วัยควรรู้ โดยส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้จากทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อฝึกการคิดแบบวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปสู่ข้อ สรุปให้ได้

บทความเรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย (มิส วัลลภา ขุมหิรัญ) 
บทความเรื่อง  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
โดย  มิสวัลลภา  ขุมหิรัญ
หลักการและความสำคัญ
    
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย
อย่างไรก็ตาม การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยยังไม่ได้รับการส่งเสริมให้แพร่หลายอาจเนื่องด้วยการศึกษาปฐมวัยมิได้เป็นการศึกษาภาคบังคับและในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยได้กำหนดกรอบสาระของหลักสูตรไว้กว้างๆทำให้สาระของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไม่มีความชัดเจน สสวท.จึงร่วมกับกลุ่มนักวิชาการ พัฒนากรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2546 และอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยมีหลักในการเลือกเนื้อหา 3 ประการดังนี้
1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์
2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก
3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้

ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายให้ครูผู้สอนได้นำไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาความรู้ รวมถึงการพัฒนากระบวนการคิด กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา ตลอดจนมีจิตวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยและเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการศึกษาในระดับต่อไป
เป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์คือ
1.แสดงความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติ การสำรวจ การสังเกต การตั้งคำถาม และการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบ
2.ดำเนินการสืบเสาะหาความรู้อย่างๆด้วยตนเอง อย่างเสรีและตามแยยที่กำหนดให้
3.แสดงความเข้าใจและรู้จักดูแลรักษาธรรมชาติ
4.สืบค้นและสนทนาเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของสิ่งต่างและใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย
5.รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
6.เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์
บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย
1.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกรอบตัว  เด็กจะได้รับการส่งเสริมและตอบสนองต่อคำถามที่เกิดขึ้นระหว่างการสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัวของตนเองอย่างเหมาะสม
2.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ 4 ด้านได้แก่ ด้านร่างกาย การจัดกิจกรรมให้เด็กได้สำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าและใช้อุปกรณ์สำรวจอย่างง่าย  การค้นหาคำตอบด้วยวิธีการต่างที่เหมาะสมกับวัย ได้บอกลักษณะของสิ่งที่สำรวจพบด้วยคำพูด การวาดภาพ ได้เรียนรู้ใหม่และบอกวิธีการเรียนรู้ของตนเอง
3.การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสใช้จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ในการออกแบบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ตลอดจนคิดวิธีการแก้ปัญหาต่างๆตามวัยและศักยภาพผ่านทางการเล่นทางวิทยาศาสตร์
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้
1.สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก
2.สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม
3.ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ
4.ส่งเสริมกระบวนการคิด
5.ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
6.ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
7.เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ
การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการตั้งคำถาม การทดลอง การสังเกตและการหาข้อสรุปซึ่งเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการแก้ปัญหา 
1.เราต้องการค้นหาอะไร
2.เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อการค้นหานี้
3.เราเห็นอะไรเกิดขึ้นบ้าง
4.สิ่งต่างๆเหล่านี้บอกอะไรแก่เราบ้าง
ผลที่ได้รับจากการศึกษาเอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยคือได้ทราบ
หลักการและความสำคัญ เป้าหมาย บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย และแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งจะได้นำแนวทางนี้ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต่อไป 

 ฝึกทักษะสังเกต…นำลูกสู่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
               ธรรมชาติของเด็กๆ นั้น มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งรอบตัวตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่สมองมีการพัฒนาสูงสุด หากเด็กได้รับการพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับธรรมชาติของเขา จะทำให้ศักยภาพในการเรียนรู้ของเขาพัฒนาได้เต็มที่  ทักษะการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์นับเป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กๆ  สามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้  สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเขา
              
ส่งเสริมทักษะการสังเกตผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า
*  ฝึกสังเกตด้วย ตา   
             ในการสังเกตโดยใช้ “ตา” นั้น  คุณพ่อคุณแม่ควรแนะให้ลูกรู้จักสังเกตลักษณะของสิ่งต่างๆ  สังเกตความเหมือน ความต่าง รู้จักจำแนก และจัดประเภท จะช่วยให้เด็กมี นิสัยในการมองสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างละเอียดรอบคอบ 
ต้น กิ่ง ก้านแล้ว  เราควรจัดหาเมล็ดพืชหลาย ๆ ชนิดมาให้เด็กเล่นเพื่อสังเกตลักษณะรูปร่างขนาด สี และหัดแยกประเภท และจัดหมวดหมู่ อุปกรณ์ที่มีประโยชน์มากสำหรับการสังเกต คือ แว่นขยาย เด็ก ๆ มักตื่นเต้นที่ได้ เห็นสิ่งต่าง ๆ มีขนาดใหญ่ขึ้น และเห็นรายละเอียดอย่างชัดเจน เช่น ตัวมด ลายใบไม้ เส้นผม ผิวหนัง ก้อนหิน เม็ดทราย เป็นต้น
             
*  ฝึกสังเกตด้วย หู  
             คุณพ่อคุณแม่ทราบมั้ยว่าเด็กเล็กๆ ที่มีความสามารถในการจำแนกเสียงต่างๆ ที่ได้ยินนั้น จะมีพื้นฐานที่ดีในการเรียนรู้ภาษา  ทั้งยังช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ธรรมชาติและสิ่งที่อยู่รอบตัวเขาด้วย เราอาจใช้วิธีอัดเสียงที่เด็กคุ้นหู เช่น เสียงสัตว์ต่าง ๆ เสียงนก เสียงแมลง จิ้งหรีด  จักจั่น เสียงน้ำไหล เสียงดนตรีชนิดต่าง ฯลฯ แล้วเปิดให้เด็กทายว่าเป็นเสียงอะไร ให้เด็กหัดสังเกตความแตกต่างของเสียงเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเชื่อมโยงไปสู่การสอนเขาเกี่ยวกับลักษณะของแหล่งเสียงต่างๆ นั้นได้  
             สำหรับการฟังเสียงสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว อาจใช้วิธีให้ลูกปิดตาแล้วเดาว่าเสียงที่เขาได้ยินนั้นเป็นเสียงอะไร เช่น เสียงเคาะไม้ เคาะแก้ว  เสียงตีกลอง เสียงเคาะโต๊ะ เป็นต้น การฟังเสียงที่แตกต่างกันของวัตถุเหล่านี้ เด็กจะเรียนรู้ถึงความแตกต่างของวัตถุ ซึ่งทำให้เกิดเสียงที่ต่างกันไป 
*   ฝึกสังเกตด้วย จมูก  
            การใช้จมูกดมกลิ่นเพื่อฝึกการสังเกตนั้น  ควรให้ลูกได้ดมสิ่งที่มีกลิ่นเหมือนและต่างกัน เพื่อให้เขารู้จักจำแนกได้ละเอียดขึ้น การฝึกลูกในขั้นแรก คือปิดตาลูกแล้วให้ดมกลิ่นสิ่งต่างๆ แล้วบอกว่าเป็นกลิ่นอะไร กลิ่นที่นำมาให้ลูกดมควรเป็นสิ่งที่เขาคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน เช่น แป้ง สบู่ ผลไม้ ส้ม ดอกไม้  หัวหอม กระเทียม กะเพราะ  ฯลฯ  หลังจากที่ลูกสามารถจำแนกกลิ่นต่าง ๆ ได้แล้ว ควร
*  ฝึกสังเกตด้วย ลิ้น  
             การใช้ลิ้นชิมรสอาหารต่าง ๆ เป็นกิจกรรมที่เด็กสนุกสนานเพราะสอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กที่ชอบชิม แทะสิ่งต่าง ๆ อยู่แล้ว การให้เด็กได้ชิมรสต่าง ๆ นี้ก็เพื่อให้รู้จักความแตกต่างของรสชาติ และรู้จักลักษณะของสิ่งที่นำมาใช้เป็นอาหารดียิ่งขึ้น 
*  ฝึกสังเกตด้วย ผิวหนัง   
             การเรียนรู้ด้วยการใช้มือสัมผัส แตะ หรือเอาสิ่งของต่าง ๆ มาสัมผัสผิวหนัง ช่วยให้เด็กได้ เรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัตถุต่าง ๆ และเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้นไป คุณพ่อคุณแม่อาจนำวัตถุต่างๆ ใส่ถุง ให้ลูกปิดตาจับของในถุงนั้น แล้วให้บอกว่าสิ่งที่จับมีลักษณะอย่างไร เช่น นุ่ม แข็ง หยาบ เรียบ ขรุขระ เย็น อุ่น บาง หนา 
               จากนั้นอาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่มการนำเสนอเพื่อที่จะทำแผนการจัดประสบการณ์
นำภาพที่ประทับมาฝากดังนี้ค่ะ

เทคนิคการสอนของอาจารย์

ให้ฝึกนักศึกษาระดมความคิด และการตั้งคำถามชวนคิด


การประเมิน(Assessmen)

การประเมินตนเอง

ตั้งใจเรียนดีค่ะ แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสม ช่วใแสดงความคิด
เห็นกับเพื่อนและครู

การประเมินเพื่อน
เพื่อนส่วนใหญ่แต่งการเรียบร้อยดีมาก ตั้งใจเรียนเข้าเรียนตรงเวลา

ประเมินอาจารย์
อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนแบบร่วมมือ และให้นักศึกษาได้ระดมความคิดกัน และสอดแทรกรายวิชาอื่นได้อย่างสร้างสรรค์

การนำไปประยุกต์ใช้
นำความรู้ที่ได้พัฒนาให้ดี และต่อเนื่องสม่ำเสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น